สถานที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยว

กราบนมัสการ พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น วัดอูบมุง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

  ประวัติพระเจ้าใหญ่อูบมุง (พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น) วัดอูบมุง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี พระเจ้าใหญ่อูบมุง (พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น)เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แรกพบเมื่อประมาณ ๒๐๐ กว่าปีมานี้เอง ความเป็นมาในดินแดนแห่งนี้แต่ก่อนยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๙ มีเท้าศรีจันทร์ ศรีสุราชเป็นชาวอำเภอเขมราฐได้อพยพมาพร้อมกับพรรคพวกจำนวนหนึ่งมาตั้งแหล่งทำมาหากินในบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอูบมุงแห่งนี้ และในครั้งนั้นมีการค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ในป่ารกชัฏประดิษฐานอยู่ในวัดร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก และมีอูบมุงก่อด้วยอิฐครอบองค์พระเอาไว้ ส่วนองค์พระมีปลวกขึ้นพอกจนถึงพระอุระและเรียกว่า ?อูบมุง? ซึ่งสันนิฐานว่าคงจะมาจากคำว่า สถูป หรือ อูบ จึงได้พากันเรียกว่าพระอูบมุง หรือพระเจ้าใหญ่อูบมุงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและท้าวศรีจันทร์ ศรีสุราช พร้อมด้วยคณะได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นมาชื่อว่า บ้านอูบมุง โดยเรียกตามชื่อพระพุทธรูปที่ค้นพบสืบมาจนทุกวันนี้ ด้วยความเชื่อและความศรัทธาของชาวบ้านซึ่งมีความเคารพสักการะในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จึงเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูป คู่บ้าน คู่เมือง ของชาวอำเภอเขมราฐอีกองค์ ซึ่งคู่กับพระเจ้าใหญ่องค์แสนที่ประดิษฐานที่วัดโพธิ์เขมราฐ และมีความเชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปบูรณะวัดร้างแห่งนี้ ใครจะมาทำอะไรไม่ได้โดยเด็ดขาด ถ้าไม่เชื่อและขืนทำไปก็จะมีอันเป็นไปในทางที่ไม่ดีอย่างแน่นอน ดังนั้นวัดร้างแห่งนี้จึงถูกปล่อยทิ้งไว้เรื่อยมา จนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้มีพระธุดงค์องค์หนึ่งมาพบและพำนักในวัดพระเจ้าใหญ่อูบมุงและได้บำเพ็ญเพียรภาวนา พระธุดงค์รูปนี้ชื่อว่าพระอาจารย์บุญมา เป็นชาวเวียงจันทร์ พระรูปนี้มีญาติโยมให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ต่อมาพระอาจารย์บุญมาได้พาชาวบ้านบูรณะวัดร้างแห่งนี้ให้เป็นวัดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีการยกแท่นพระเจ้าใหญ่แล้วซ่อมแซมอุโมงค์ครอบองค์พระขึ้นมาใหม่เป็นรูปสถูปหรือเจดีย์ เสร็จเรียบร้อยแล้วต่อจากนั้นเป็นต้นมามีผู้คนรู้จักและให้ความเคารพศรัทธาพระเจ้าใหญ่อูบมุงเป็นอย่างมากเนื่องมาจากมีความเลื่อมใสศรัทธากันว่าพระเจ้าใหญ่อูบมุงเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งในท้องถิ่นนี้ วัดพระเจ้าใหญ่อูบมุงตั้งเป็นวัดมาเป็นเวลานานมากกว่า ๖๐ ปี จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๔ สมัยพระอธิการลี หรือพระครูโกวิทเขมคุณเป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบล ในสมัยนั้นได้มีการประชุมพิจารณาที่จะสร้างวิหารพระเจ้าใหญ่อูบมุงขึ้นใหม่ โดยมีพระครูวรกิจโกวิท เจ้าคณะอำเภอเขมราฐ เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นพร้อมให้สร้างขึ้นซึ่งมีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร หลังปัจจุบันโดยมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและงบประมาณในการจัดงานบุญประจำปี และงบประมาณบางส่วนทางราชการได้สนับสนุนอุดหนุนจนแล้วเสร็จ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณล้านเศษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ทำการรื้ออุโมงค์หลังเก่าออก แล้วเปลี่ยนเป็นรูปฉัตรครององค์พระไว้และยกแท่นใหม่ค่าก่อสร้างในครั้งนั้น จำนวน ๑๕.๐๐๐ บาท ประวัติโดยย่อของพระเจ้าใหญ่อูบมุงที่กล่าวมานี้นับว่าได้เป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งสืบทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ทวด ของชนชาวไทย สมควรยิ่งนักที่อนุชนรุ่นหลังจะได้อนุรักษ์และหวงแหนทะนุบำรุงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาเพื่อให้มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่เคารพสักการะสืบต่อไป

แก่งช้างหมอบ

  แก่งช้างหมอบ ที่ตั้ง : บ้านห้วยยาง หมู่ที่ 10 ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี "แก่งช้างหมอบ" ซึ่งเป็นแก่งน้ำสลับโขดหิน และต้นแซงซุม ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แก่งช้างหมอบ แห่งนี้ เป็นแก่งน้ำในลำน้ำโขงที่อยู่ห่างจาก อ.เขมราฐ ไม่ไกลนัก การเดินทางสะดวก เนื่องจากมีถนนลาดยางสะดวกสบาย ซึ่งขณะนี้นักท่องเที่ยวเริ่มรู้จักแก่งช้างหมอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี นักท่องเที่ยวจะออกมาเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน จุดเด่นอีกอย่างของแก่งช้างหมอบ ยังคงความเป็นธรรมชาติที่มีความสวยงาม ยังไม่ถูกทำลายหรือเสื่อมโทรมเหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวบางแห่ง ทั้งนี้เพื่อให้เม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเกิดการสะพัดในท้องถิ่น และส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ที่ดีจากการเข้ามาเยือนของนักท่องเที่ยว อันจะเป็นการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญต่อไป สำหรับแก่งช้างหมอบเกิดขึ้นในลำน้ำโขงมานับพันปี ซึ่งสถานที่ดังกล่าวอยู่ตรงบริเวณบ้านห้วยยาง ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี สาเหตุที่ได้ชื่อว่าแก่งช้างหมอบ เนื่องจากเป็นแก่งน้ำที่ถูกน้ำโขงกัดเซาะเป็นทางยาง มีโขดหินที่สวยงาม ระดับน้ำไม่ลึกมาก เหมาะสำหรับการลงเล่นน้ำ และมีทิวทัศน์ที่สวยงาม เพราะมีโขดหิน สายน้ำใสสะอาด สลับกับต้นแซงซุม ที่ขึ้นกลางโขดหินในลำน้ำโขง นอกจากนี้ยังมีเกาะกลางลำน้ำขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของฟอสซิลช้าง ที่เป็นตำนานของแก่งช้างหมอบ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าภายใต้โขดหินนี้จะยังคงมีฟอสซิลหลงเหลืออยู่ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นสำคัญของแก่งช้างหมอบที่สวยงามแห่งนี้

Map

Poll

ความพึงพอใจของท่าน ต่อการให้บริการของ เทศบาลตำบลเทพวงศา ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระดับใด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

Facebook

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ